การนำเข้าไม้ประดับกับกฎหมายกักพืช

หลายคนแอบสงสัยกันอยู่ใช่ไหมคะ..ว่าไม้ประดับที่เราเห็นหลากหลายสายพันธ์ุ
สีสันสวยงาม บ้างชนิดก็มาจากประเทศนั้นประเทศนี้ เขานำเข้ามาได้อย่างไร
แอดมินเลยนำความรู้เกี่ยว การนำเข้าไม้ประดับกับกฎหมายกักพืช มาฝากกันค่ะ
.
เริ่มจากไม้ประดับที่อนุญาตให้นำเข้าได้ ต้องอยู่ใน “กลุ่มสิ่งกำกัด” หรือ “กลุ่มสิ่งไม่ต้องห้าม”
สามารถนำเข้าได้ทุกส่วนและจากทุกประเทศ โดยการแจ้งการนำเข้าต่อด่านตรวจพืช ผ่านระบบ NEW DOA – NSW
และ “กลุ่มสิ่งต้องห้าม” ก็คือห้ามนำเข้ามาในประเทศเด็ดขาดจะทำให้ผิดกฎหมายและถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย
.
ตัวอย่างไม้ประดับ กลุ่มสิ่งกำจัด เช่น Dieffenbachia spp., Caladium spp., Aglaonema spp.
ตัวอย่างไม้ประดับ กลุ่มสิ่งไม่ต้องห้าม เช่น Alocasia spp., Syngonium spp., Monstera spp., Zamioculca spp.
ตัวอย่างไม้ประดับ กลุ่มสิ่งต้องห้าม เช่น พืชตะกูล Musa กล้วยด่าง, พืชวงศ์ Solanaceae พิทูเนีย,
พริกประดับ, คาลิบราโคว์
.
.
ต่อมาจะเป็นรายละเอียดเอกสารประกอบในการแจ้งนำเข้าไม้ประดับ (พ.ก.5) ดังนี้
1. ใบรับรองสุขอนามัย
2. หนังสือรับรองส่วนขยายพันธุ์พืชมิใช่พืชที่ดัดแปลงพันธุกรรม
3. บัญชีราคาสินค้า
4. ใบรายการบรรจุหีบห่อ
**กรณีนำเข้า ต้นกล้า หรือ ไม้กระถาง ห้ามใช้วัสดุปลูกเป็นดิน/แกลบ/ขุยมะพร้าว
.
ทุกคนเริ่มเข้าใจมากขึ้นกันแล้วใช่ไหมคะว่าการนำเข้าไม้ประดับ  สามารถนำเข้าสายพันธุ์ไหนได้บ้าง
และนำเข้าได้อย่างไร หวังว่าจะเป็นความรู้ให้กับทุกคนไม่มากก็น้อยค่ะ
.
ขอบคุณข้อมูลจาก : เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก พืชและสินค้าเกษตร ของกรมวิชาการเกษตร
_________________________________________________________________________
 .
เรามีบริการให้คำปรึกษา ด้านการออกแบบปุ๋ย ด้านการผลิตปุ๋ย ตามสูตรและปริมาณที่ลูกค้าต้องการ
รวมทั้งช่วยออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมต่อความต้องการของลูกค้า
เพื่อให้เหมาะสมกับการทำการตลาดที่ลูกค้าต้องการ ผ่านทางช้่องทางออนไลน์
.
ติดต่อสอบถาม การผลิตปุ๋ย เพิ่มเติมได้ที่
​Line@ : @organic.design
Line
โทร. 0876208888

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *