การเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร

การเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร

การเข้าใจถึงหลักการ การเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร ภายในดินนั้น จะช่วยให้เรามีความเข้าใจและช่วยในการใส่ปุ๋ยธาตุอาหารต่าง ๆ ได้อย่างดียิ่งขึ้น เพราะจะทำให้ได้รู้ว่า ธาตุอาหารแต่ละตัวจะมีการเคลื่อนที่แบบใด ควรใส่ปุ๋ยแบบใดจึงจะเหมาะสม

 

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชจะประกอบไปด้วย 16 ชนิด แบ่งเป็น

  • ธาตุอาหารหลัก – ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P) และโพแตสเซียม (K)
  • ธาตุอาหารรอง – แคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S)
  • ธาตุอาหารเสริม – แมงกานีส (Mn), ทองแดง (Cu), คลอรีน (Cl), เหล็ก (Fe), โบรอน (B), สังกะสี (Zn) และโมลิบดินัม (Mo)
  • ส่วนอีก 3 ชนิด ได้แก่ คาร์บอน (C), ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) ซึ่งพืชจะได้รับทางใบจากอากาศ

 

ซึ่งความสามารถในการเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร (nutrient mobility) แต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกได้ว่า ธาตุชนิดใดมีโอกาสที่จะถูกน้ำพัดพาหายหรือพืชจะดูดซึมได้น้อยหากให้ทางดินเพียงอย่างเดียว ได้แก่

  • ธาตุอาหารที่เคลื่อนที่ได้ดี (very mobile) ธาตุอาหารมีโอกาสที่ธาตุจะถูกน้ำพัดพาหายไปจากดินได้มาก แต่จะเคลื่อนที่เข้าหารากได้ดี เช่น ไนเตรต (NO3) กำมะถัน(S) โบรอน(B) คลอรีน(CI)
  • ธาตุอาหารที่เคลื่อนที่ได้จำกัด (limited mobile) เช่น โพแทสเซียม(K)
  • ธาตุอาหารที่ไม่เคลื่อนที่ (immobile) ธาตุอหารมีโอกาสน้อยที่ธาตุจะถูกน้ำพัดพาหายไปจากดิน แต่จะเคลื่อนที่เข้าหารากได้ยาก เช่น แอมโมเนียม (NH4) ฟอสฟอรัส(P) แคลเซียม(Ca) ทองแดง(Cu)

 

ลักษณะ การเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร ในดิน จะมีด้วยกัน 3 แบบ คือ

  1. Mass flow คือ การเคลื่อนที่ของธาตุอาหารในดินที่เคลื่อนที่ไปพร้อมกับน้ำ ปริมาณธาตุอาหารที่เคลื่อนที่ได้นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของธาตุอาหารและอัตราการเคลื่อนที่ของน้ำ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ 1.ระบบรากของพืช 2.ความชื้นของดิน และ 3.อุณหภูมิของดิน

การเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร

  1. การแพร่ (Diffusion) คือ การเคลื่อนที่ของธาตุอาหารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ โดยอัตราการแพร่ของธาตุอาหารในดินจะขึ้นอยู่กับ 1.ปริมาตรน้ำในดินทิศทางเคลื่อนที่ของน้ำ และ 3.ความต้านทางในการเปลี่ยนแปลงทางเคมี (Buffer capacity)
  • ธาตุอาหารพืชทุกชนิดจะสามารถที่เคลื่อนที่ได้ด้วยวิธีนี้ เป็นหลักการที่ดินจะปรับสมดุลให้ในดินมีธาตุอาหารปริมาณใกล้เคียงกัน การใส่ปุ๋ยเฉพาะจุดจะช่วยให้อัตราการแพร่เพิ่มขึ้น

สรุป

  • ดินที่ปนเปื้อนต่ำ การเคลื่อนที่แบบ Mass flow และ Diffusion จะสูง
  • ความชื้นในดินสูง การเคลื่อนที่แบบ Mass flow และ Diffusion จะสูง
  • อุณหภูมิสูง การเคลื่อนที่แบบ Mass flow และ Diffusion จะสูง
  • ปริมาณปุ๋ยสูง การเคลื่อนที่แบบ Mass flow และ Diffusion จะสูง

 

  1. กระบวนการการยืดตัวของราก (Root interception) คือ การที่รากพืชเข้าหาบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของดิน และเกิดการแลกเปลี่ยนไอออนของธาตุอาหารระหว่างดินและพืช
  • ปริมาณธาตุอาหารที่พืชได้รับโดยกลไก คือ ปริมาณธาตุอาหารที่อยู่ใน ปริมาตรดิน (soil volume) ที่เท่ากับปริมาณ ราก (ประมาณ 1-2%)
  • ปัจจัยที่ช่วยให้รากพืชเร่งการรับไอออนมากขึ้น คือ Root exudates (การขับสารต่าง ๆ เช่น กรดอะมิโน เกลือแร่ วิตามิน ฯลฯ) และ 2.กิจกรรมของจุลินทรีย์ในไรโซเสฟียร์ (rhizosphere)

การเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร

 

การเคลื่อนที่ทั้ง 3 รูปแบบ เป็น การเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร โดยธรรมชาติ แต่วิธีที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารไปยังพืชได้ดีที่สุด คือ Mass flow หรือ การเคลื่อนที่ไปพร้อมกับน้ำ เราจึงจำเป็นต้องมีการรดน้ำหลังใส่ปุ๋ยอยู่เสมอ รวมถึงมีการปรับปรุงคุณภาพดินให้เหมาะสมต่อการเคลื่อนที่ของธาตุอาหารอยู่เสมอ ทั้งเรื่องความชื้น อุณหภูมิ ค่า pH รวมถึงปริมาณจุลินทรีย์ในดิน

การเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร

___________________________________________________________________________________________________________

เรามีบริการให้คำปรึกษา ด้านการออกแบบปุ๋ย ด้านการผลิตปุ๋ย ตามสูตรและปริมาณที่ลูกค้าต้องการ รวมทั้งช่วยออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมต่อความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เหมาะสมกับการทำการตลาดที่ลูกค้าต้องการ ผ่านทางช้่องทางออนไลน์

 

ติดต่อสอบถาม การผลิตปุ๋ย เพิ่มเติมได้ที่
​Line@ : @organic.design Line
โทร. 0876208888
Facebook

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *