การ ‘เพาะพันธุ์ไม้ด่าง’ สำหรับขาย ถึงมีมูลค่าสูงมากในปัจจุบัน ?
หากต้องการคำตอบที่เรียบง่ายคงต้องตอบว่า การ’เพาะพันธุ์ไม้ด่าง’ ก็เป็นรูปแบบการตลาดที่มี อุปสงค์-อุปทาน เมื่อมีความต้องการมากแต่มีสินค้าที่ตอบสนองความต้องการมีน้อย ก็ทำให้สินค้านั้น ๆ เกิดมูลค่ามากขึ้น
เมื่อการเพาะพันธุ์ไม้ด่างมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักสะสมหรือนักเล่นไม้ด่าง ก็ทำให้ราคาของไม้ด่างสูงขึ้น จึงเป็นที่มาของคำถามถัดมาที่ว่า แล้วทำไม การเกิดไม้ด่างถึงเกิดได้ยาก ? วันนี้เราจะพามาหาคำตอบกัน
.
การเกิดไม้ด่างนั้น คือการที่ต้นไม้ที่มีสีหลักเป็นสีเขียว ออกใบที่มีสีอื่น ๆ แทรกมา ไม่ว่าจะเป็นชมพู แดง ขาว เหลือง แบบสุ่ม ซึ่งทำให้ต้นไม้มีสีสันสวยขึ้น โดยการด่างแบบนี้จะเป็นการด่างที่มาจากการกลายพันธุ์ เรียกว่าด่างแท้ (บทความไม้ด่างแท้-เทียม) หรือเกิดจากตัดแต่งพันธุกรรมก็ถือว่าเกิดได้ยาก โดยเฉลี่ยแล้วไม้ด่างที่กลายพันธุ์แล้วออกมาสวย ขายได้ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 5 % เท่านั้น อีกทั้งยังทำให้โตช้าและขยายพันธุ์ยากกว่าปกติอีกดด้วย
.
โดยหลักการผสมพันธุ์หรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของไม้ด่าง ให้มีสีสันที่ต้องการนั้น มีหลักการดังนี้
(แม่พันธุ์จะเป็นตัวกำหนดลักษณะอัตราการเกิดการด่าง‘เสมอ’)
- ในกรณีที่แม่พันธุ์ที่นำมาผสมมีเขียว ลูกที่ได้ จะเป็นใบเขียว 100 % เช่น
- แม่พันธุ์ใบเขียว+พ่อพันธุ์ใบเผือก ต้นที่ได้จะมีใบเขียว
- แม่พันธุ์ใบเขียว +พ่อพันธุ์ใบด่าง ต้นที่ได้จะมีใบเขียว
- กรณีที่แม่พันธุ์เป็นใบเผือก ลูกที่ได้ จะเป็นใบเผือก 100 % เช่น
- แม่พันธุ์ใบเผือก + พ่อพันธุ์ใบเขียว ต้นที่ได้มีจะใบเผือก
- แม่พันธุ์ใบเผือก + พ่อพันธุ์ใบเผือก ต้นที่ได้จะมีใบเผือก
- แม่พันธุ์ใบเผือก + พ่อพันธุ์ใบด่าง ต้นที่ได้จะมีใบเผือก
- กรณีที่แม่พันธุ์เป็นใบด่าง ลูกที่ได้ จะมีโอกาสเกิดได้ใบได้ทั้ง ใบเขียว ใบเผือก และใบด่าง เช่น
- แม่พันธุ์ใบด่าง + พ่อพันธุ์ใบเขียว ต้นที่ได้จะมีทั้งใบเขียว เผือก ด่าง
- แม่พันธุ์ใบด่าง + พ่อพันธุ์ใบเผือก ต้นที่ได้จะมีทั้งใบเขียว เผือก ด่าง
- แม่พันธุ์ใบด่าง + พ่อพันธุ์ใบด่าง ต้นที่ได้จะมีทั้งใบเขียว เผือก ด่าง
.
จะเห็นได้ว่าการที่เราจะผสมพันธุ์หรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้ได้ไม้ด่างที่ต้องการนั้น จะมีโอกาสเกิดที่น้อยมาก แต่ข้อดีก็คือจะได้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรง และสามารถเลี้ยงได้ตั้งแต่ยังเป็นเมล็ด
.
คนส่วนใหญ่ที่ต้องการทำรายได้จากการเพาะพันธุ์เพื่อค้าขายจึงไม่นิยมใช้วิธีนี้ในการเพาะพันธุ์ แต่เลือกใช้วิธีการ
1.เสียบยอด คือ การขยายพันธุ์โดยนำกิ่งหรือใบอ่อนจากต้นที่ด่าง มาทำการทาบบนต้นตอที่แข็งแรง(อาจไม่ด่าง) เพื่อให้กิ่งที่ด่างเจริญเติบโตบนต้นตอที่แข็งแรง
2.ปักชำ คือ การนำส่วนต่าง ๆของต้นที่ด่าง อย่าง กิ่ง ใบ และราก แยกมาปลูกต่อในภาชนะใหม่ ปลูกได้ทั้งในน้ำ และในดิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้
ซึ่งเป็นการนำใบที่ด่างอยู่แล้วมาใช้เพื่อขยายพันธุ์ต้นใหม่ ๆ ทำให้ไม่ต้องลุ้นว่าต้นไม้ที่เกิดขึ้นมานั้นจะมีใบด่างหรือไม่ แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือ ต้นที่ได้จะไม่แข็งแรงเท่ากับการเพาะเมล็ด และใช้เวลาในการเจริญเติบโตค่อนข้างนาน
.
ทั้งนี้ วิธีการเพาะพันธุ์ไม้ด่างแต่ละวิธีก็ขึ้นอยู่ความต้องการและความสะดวกของแต่ละคน โดยต้องคิดอยู่เสมอว่าต้นไม้แต่ละต้นสามารถตายได้ตลอดเวลาจากหลาย ๆ ปัจจัย ดังนั้นการลงทุนจำเป็นต้องศึกษาและยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นให้ได้เช่นกัน
.
เรายินดีให้คำปรึกษา #ออกแบบปุ๋ยไม้ด่าง #ผลิตปุ๋ยไม้ด่าง ตามสูตรและปริมาณที่ลูกค้าต้องการ รวมทั้งช่วยออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมต่อความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เหมาะสมกับการทำการตลาดที่ลูกค้าต้องการ
_____________________________________________________________________________________________________________________