การ ตรวจวิเคราะห์ดิน เพื่อลดต้นทุน
ยังคงอยู่กับเคล็ดลับการแก้ไขปัญหาราคาปุ๋ยที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ที่เกษตรกรสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เป็นวิธีที่เกษตรทุกคนควรมีความรู้ ความเข้าใจ เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและยั่งยืน สามารถช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยรวมถึงต้นทุนในด้านต่าง ๆ ของการเพาะปลูกได้ ทั้งต้นทุนแรงงาน การเลือกชนิดพันธุ์พืชให้เหมาะสม
ซึ่งวิธีนั้นคือการ ตรวจวิเคราะห์ดิน ก่อนทำการเพาะปลูก หรือหลังเพาะปลูกสักระยะนึง เปรียบเสมือนเป็นการทำความเข้าใจดินที่อยู่ในพื้นที่เพาะปลูกของเรา ว่าเหมาะสมกับพืชอะไร มีสภาพเป็นอย่างไร พร้อมเพาะปลูกหรือไม่ รวมถึงขาดธาตุอาหารใดบ้าง
การตรวจวิเคราะห์ดินและทำการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ มีด้วยกัน 4 ขั้นตอน คือ
- เก็บตัวอย่างดิน
การเก็บตัวอย่างดินต้องเก็บตัวอย่างให้ถูกหลักตามการวิธี คือ
- พื้นที่ยังไม่มีการปลูกพืช ให้เดินสุ่มเก็บตัวอย่างดินให้ทั่วแปลงในแต่ละแปลง แปลงละประมาณ 15 จุด
- กรณีที่มีการเพาะปลูกแล้ว ให้เก็บดินภายในทรงพุ่มต้นละจุด ประมาณ 15 ต้น ในแต่ละแปลง
- หลังเก็บ ให้คลุกเคล้าดินแต่ละที่เก็บมาให้เข้ากันแล้วเทลงบนผ้าพลาสติก ทำการคลุกเคล้าอีกครั้ง
- หลังจากนั้นกองดินให้เป็นรูปฝาชี แล้วใช้มือตบยอดกองให้แบนราบ หลังจากนั้นใช้นิ้วมือขีดเป็นกากบาด (+) บนยอดกอง ให้ดินถูกแบ่งแยกเป็น 4 ส่วน
- เก็บตัวอย่างจากกองดินนี้เพียง 1 ส่วน ให้ได้ดินหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม ใส่ดินลงในถุงพลาสติกที่เตรียมไว้เพื่อส่งวิเคราะห์
จากนั้นเขียนป้ายเบอร์แปลง พร้อมรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวอย่างดิน ผูกติดไว้กับถุงตัวอย่างดิน
- ส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ กับกรมพัฒนาที่ดิน
สามารถนำไปส่งด้วยตัวเอง หรือส่งผ่านไปรษณีย์ก็ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- เข้าไปที่เว็บไซต์ https://osdldd.go.th/osdlab/register.php ของกรมพัฒนาที่ดิน
- ทำตามขั้นตอนการกรอกข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ให้ถูกต้องและครบถ้วน
- เลือกรายการที่ต้องการการวิเคราะห์ (รายการวิเคราะห์ที่ให้บริการเกษตรกรฟรีโดยจะขึ้นกับห้องปฎิบัติ) ซึ่งมีรายการดังนี้
- ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (soil pH)
- ความต้องการปูนเพื่อแก้ความเป็นกรด (lime requirement : LR)
- การนำไฟฟ้าของดิน (EC) 1 : 5 ค่าความเค็มของดิน
- อินทรียวัตถุ (organic matter) OM
- ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน (available phosphorus) P
- โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน (available potassium) K
- แคลเซียมที่สกัดได้ในดิน (extractable calcium) Ca
- แมกนีเซียมที่สกัดได้ในดิน (extractable magnesium) Mg
- เนื้อดิน แยกอนุภาคทราย (sand) อนุภาคทรายแป้ง (silt) และอนุภาคดินเหนียว (clay)
- กรอกข้อมูลผู้จัดส่ง เลือกที่อยู่ของแปลงจากแผนที่ เลือกรายละเอียดการเพาะปลูก
- รอรับผลวิเคราะห์ภายใน 60 วัน
- นำผลที่ได้มาวิเคราะห์
ว่า ดินที่เราใช้ในการเพาะปลูก มีสภาพเป็นอย่างไร ขาดธาตุอาหารใดบ้าง เหมาะสมกับการปลูกพืชชนิดใด รวมทั้ง วางแผนในการปลูกระยะยาว
- ใช้ปุ๋ยหรือสารปรับปรุงดินตามคำแนะนำ
โดยที่เราสามารถ นำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วว่า หากต้องการปลูกพืชชนิดไหน แล้วต้องการธาตุอาหารใดเพิ่มบ้าง สามารถสืบค้นข้อมูลจากการเอกสารของกรมวิชาการเกษตร หรือนักส่งเสริมการเกษตรได้ เพื่อปรับปรุงแก้ไขสภาพของดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชมากที่สุด
การ ตรวจวิเคราะห์ดิน อาจใช้เวลาและค่าใช้จ่ายอยู่บ้าง แต่ถ้าหากเรารู้ข้อมูลของดินที่ทำการเพาะปลูก นำมาวิเคราะห์ และจัดการได้อย่างเหมาะสมแล้ว จะเป็นการลดต้นทุนการปลูก และสามารถช่วยให้เราทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนได้
เรามีบริการให้คำปรึกษา ด้านการออกแบบปุ๋ย ด้านการผลิตปุ๋ย ตามสูตรและปริมาณที่ลูกค้าต้องการ รวมทั้งช่วยออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมต่อความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เหมาะสมกับการทำการตลาดที่ลูกค้าต้องการ ผ่านทางช้่องทางออนไลน์