ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นมีอะไรบ้าง มาดูกัน ?
อยากให้พืชเติบโตให้ผลผลิตได้ดี ต้องรู้จักธาตุอาหารที่พืชต้องการ ถึงแม้ว่าจะปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์ประกอบที่สำคัญของการเติบโตของพืช คือ ดิน แสงแดดและน้ำ
แต่ในปัจจุบันนี้
#ปุ๋ย ก็เป็นอีกองค์ประกอบที่ช่วยให้พืชเติบโตได้ดียิ่งขึ้น
.
สำหรับพืชแล้ว ดินดี แสงดี น้ำดี และปุ๋ยดี เปรียบเสมือนปัจจัยสี่ ที่ส่งผลต่อการเติบโต ออกดอกออกผล ซึ่งปุ๋ยที่ดี ต้องมีธาตุอาหารตรงตามที่พืชต้องการ ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม
1. ไนโตรเจน
โดยทั่วไป ธาตุไนโตรเจนในดินมักขาดมากกว่าธาตุอื่น ธาตุไนโตรเจนในดินมักสูญเสียได้ง่ายจากการชะล้างในรูปของเกลือไนเตรท หรือเกิดการระเหยของแอมโมเนียดังนั้น
หากต้องการให้ไนโตรเจนในดินที่เพียงจึงต้องใส่ธาตุไนโตรเจนลงไปในดินในรูปของปุ๋ย
หน้าที่และความสำคัญต่อพืช
1. ทำให้พืชเจริญเติบโต และตั้งตัวได้เร็ว โดยเฉพาะในระยะแรกของการเจริญเติบโต
2. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของใบ และลำต้น ทำให้ลำต้น และใบมีสีเขียวเข้ม
3. ส่งเสริมการสร้างโปรตีนให้แก่พืช
4. ควบคุมการออกดอก และติดผลของพืช
5. เพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะพืชที่ให้ใบ และลำต้น
2. ฟอสฟอรัส
ฟอสฟอรัสในดินมักมีปริมาณที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เนื่องจากเป็นธาตุที่ถูกตรึงหรือเปลี่ยนเป็นสารประกอบได้ง่าย สารเหล่านี้มักละลายน้ำได้ยาก
ทำให้ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสต่อพืชลดลง โดยทั่วไปพืชจะต้องการฟอสฟอรัสประมาณ 0.3-0.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้ง เพื่อให้การเจริญเติบโตทางใบเป็นปกติ
แต่หากได้รับในปริมาณสูงกว่า 1 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้งจะเกิดความเป็นพิษต่อพืช
หน้าที่และความสำคัญต่อพืช
1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ทั้งรากแก้ว ราฝอย และรากแขนง
โดยเฉพาะในระยะแรกของการเจริญเติบโต
2. ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็ว ช่วยการออกดอก การติดผล และการสร้างเมล็ด
3. ช่วยให้รากดูดโปแตสเซียมจากดินมาใช้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น
4. ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อโรคบางชนิด ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี
5. ช่วยให้ลำต้นแข็งแรง ไม่ล้มง่าย
6. ลดผลกระทบที่เกิดจากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป
3. โพแทสเซียม
โพแทสเซียมเป็นธาตุที่จำเป็นสำหรับพืชเหมือนกับธาตุฟอสฟอรัส และธาตุไนโตรเจน การเพิ่มปริมาณโพแทสเซียมในดินจะเกิดจากการสลายตัวของหินเป็นดินหรือปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ในดินที่พืชสามารถนำไปใช้ได้
โพแทสเซียมที่เป็นองค์ประกอบของพืช พบมากในส่วนยอดของต้น ปลายราก ตาข้าง ใบอ่อน ในใจกลางลำต้น และในท่อลำเลียงอาหาร
หน้าที่และความสำคัญต่อพืช
1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ทำให้รากดูดน้ำ และธาตุอาหารได้ดีขึ้น
2. จำเป็นต่อการสร้างเนื้อผลไม้ การสร้างแป้งของผล และหัว
จึงนิยมให้ปุ๋ยโพแทสเซียมมากในระยะเร่งดอก ผล และหัว
3. ช่วยให้พืชต้านทานการเปลี่ยนแปลงปริมาณแสง อุณภูมิหรือความชื้น
4. ช่วยให้พืชต้านทานต่อโรคต่างๆ
5. ช่วยเพิ่มคุณภาพของพืช ผัก และผลไม้ ทำให้พืชมีสีสัน เพิ่มขนาด และเพิ่มความหวาน
6. ช่วยป้องกันผลกระทบจากที่พืชได้รับไนโตรเจน และฟอสฟอรัสมากเกินไป
4. ธาตุอาหารรอง
– แคลเซียม ช่วยในเรื่องของการผสมเกสร การงอกของรากและใบ แคลเซียมเป็นธาตุที่ช่วยเสริมการนำธาตุไนโตรเจนจากดินไปใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น
– แมกนีเซียม ช่วยสร้างโปรตีน ไขมัน วิตามินและน้ำตาลในพืช ส่งเสริมการลำเลียงฟอสฟอรัสไปสู่ลำต้น
– กำมะถัน สร้างกรดอะมิโนโปรตีน และวิตามินในพืช ผลทางอ้อมต่อการสร้างส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช ช่วยในกระบวนการหายใจ และการสังเคราะห์อาหาร
5. ธาตุอาหารเสริม
– แมงกานีส มีผลต่อใบ เนื่องจากมีบทบาทในการสังเคราะห์แสง ช่วยกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อย และควบคุมกิจกรรมของธาตุเหล็ก และไนโตรเจน
– ทองแดง ช่วยเพิ่มโมเลกุลคลอโรฟิลล์ และป้องกันการทำลายส่วนสีเขียว ช่วยให้ต้นพืชแข็งแรง และอายุยาวขึ้น เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยในพืช
– คลอรีน มีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง ช่วยให้พืชแก่เร็วขึ้น
– เหล็ก ช่วยในการสังเคราะห์อาหาร ช่วยกระตุ้นกระบวนการหายใจและกระบวนการปรุงอาหารให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์
– โบรอน ช่วยให้พืชดูดธาตุแคลเซียม และไนโตรเจนได้มากขึ้น