ปลูกผักไร้ดิน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นเทรนด์ของคนสมัยใหม่ที่นิยมปลูก
เพราะสามารถปลูกได้ในพื้นที่จำกัด แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังสงสัยว่ามันคืออะไร?
ปลูกผักไร้ดิน ทำอย่างไร? และมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร? วันนี้แอดมินได้รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว ดังนี้
เพราะสามารถปลูกได้ในพื้นที่จำกัด แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังสงสัยว่ามันคืออะไร?
ปลูกผักไร้ดิน ทำอย่างไร? และมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร? วันนี้แอดมินได้รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว ดังนี้
.
ไฮโดรโปนิกส์ คืออะไร?
ไฮโดรโปนิกส์ คือการปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน และเน้นการให้สารละลายธาตุอาหารพืชแทนดิน
ซึ่งพืชสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้ทันที เพราะมีการปรับค่าการนำไฟฟ้า และ pH ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชผัก
.
ข้อดีและข้อเสียของการปลูกผักไร้ดิน ดังนี้
ข้อดี
– ปลูกผักในที่ที่มีพื้นที่น้อย หรือสภาพดินไม่เหมาะสมได้
– ทำผลผลิตได้สม่ำเสมอ
– ควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตได้
– ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเตรียมดิน และการกำจัดวัชพืช
ข้อเสีย
– มีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง
– ต้องใช้ผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการดูแล
.
ระบบในการปลูกผักไร้ดิน 3 ชนิด มีดังนี้
1. การปลูกโดยให้สารละลายธาตุอาหารไหลผ่านรากผักเป็นแผ่นบาง ๆ อย่างต่อเนื่อง
(Nutrient Film Technique : NFT) วิธีนี้คือการให้สารละลายธาตุอาหารพืช
ไหลผ่านรากพืชที่ปลูกบนรางตามความลาดชันของรางปลูกอย่างช้าๆ
เป็นแผ่นฟิล์มบางๆ ประมาณ 1-3 มิลลิเมตร
พืชที่ปลูกได้ดีและนิยมปลูกในระบบนี้ ได้แก่ ผักกินใบจำพวกผักสลัด มีอายุยาวประมาณ 45-50 วัน
(Nutrient Film Technique : NFT) วิธีนี้คือการให้สารละลายธาตุอาหารพืช
ไหลผ่านรากพืชที่ปลูกบนรางตามความลาดชันของรางปลูกอย่างช้าๆ
เป็นแผ่นฟิล์มบางๆ ประมาณ 1-3 มิลลิเมตร
พืชที่ปลูกได้ดีและนิยมปลูกในระบบนี้ ได้แก่ ผักกินใบจำพวกผักสลัด มีอายุยาวประมาณ 45-50 วัน
2. การปลูกโดยให้สารละลายธาตุอาหารไหลผ่านรากผักในระดับลึก (Deep Flow Technique : DFT)
การปลูกผักโดยวิธีนี้เหมือนการปลูกแบบลอยน้ำ ซึ่งสามารถปลูกได้ดีในที่ที่มีแดดจัด
โดยวิธีนี้จะมีช่องว่างระหว่างแผ่นปลูกกับสารละลายธาตุอาหารพืชประมาณ 3-5 เซนติเมตร
เพื่อให้รากผักบางส่วนถูกอากาศ และบางส่วนอยู่ในสารละลายธาตุอาหารพืช
ผักที่ปลูกได้ดีและนิยมปลูกในระบบนี้ ได้แก่ ผักไทย (ผักกินใบที่มีอายุสั้น ประมาณ 20-30 วัน)
เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักโขม
การปลูกผักโดยวิธีนี้เหมือนการปลูกแบบลอยน้ำ ซึ่งสามารถปลูกได้ดีในที่ที่มีแดดจัด
โดยวิธีนี้จะมีช่องว่างระหว่างแผ่นปลูกกับสารละลายธาตุอาหารพืชประมาณ 3-5 เซนติเมตร
เพื่อให้รากผักบางส่วนถูกอากาศ และบางส่วนอยู่ในสารละลายธาตุอาหารพืช
ผักที่ปลูกได้ดีและนิยมปลูกในระบบนี้ ได้แก่ ผักไทย (ผักกินใบที่มีอายุสั้น ประมาณ 20-30 วัน)
เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักโขม
3. การปลูกโดยให้สารละลายธาตุอาหารและอากาศไหลวนผ่านรากผักในระดับลึกอย่างต่อเนื่อง
ในถาดปลูก (Dynamic Root Floating Technique : DRFT) ระบบนี้พัฒนามาจากระบบ DFT
โดยเพิ่มการไหลเวียนของอากาศและสารละลายธาตุอาหารพืช ผักที่ปลูกได้ดีและนิยมปลูก ได้แก่ ผักไทย
ในถาดปลูก (Dynamic Root Floating Technique : DRFT) ระบบนี้พัฒนามาจากระบบ DFT
โดยเพิ่มการไหลเวียนของอากาศและสารละลายธาตุอาหารพืช ผักที่ปลูกได้ดีและนิยมปลูก ได้แก่ ผักไทย
.
การปลูกผักไร้ดิน มีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้
1. เตรียมพื้นที่และโต๊ะปลูกด้วยการประกอบโต๊ะปลูกและติดตั้งตามวิธีการประกอบชุดไฮโดรโปนิกส์
และนำโต๊ะปลูกมาวางในตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง/วัน
และนำโต๊ะปลูกมาวางในตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง/วัน
2. พันธุ์เมล็ดพันธุ์ผักมี 2 ชนิดคือแบบเคลือบดินเหนียวและไม่เคลือบ
3. เพาะต้นกล้า ด้วยนำวัสดุปลูก เช่น เพอร์ไลท์ เวอร์มิคูไลท์ ใส่ถ้วยเพาะและนำเมล็ดผักใส่ตรงกลางถ้วย
กลบเมล็ดและรดน้ำให้เปียกและเก็บไว้ในที่ปลอดภัย
ควรรดน้ำทุกวัน ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก และเริ่มให้สารละลายอ่อนๆ แทนน้ำ
กลบเมล็ดและรดน้ำให้เปียกและเก็บไว้ในที่ปลอดภัย
ควรรดน้ำทุกวัน ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก และเริ่มให้สารละลายอ่อนๆ แทนน้ำ
4. การปลูกบนราง ขนาด 1.5 เมตร ตัวอย่างเช่น เติมน้ำ 10 ลิตร และเติมสารอาหาร A และ B
อย่างละ 100 ซีซี หรือ 10 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร จากนั้นนำต้นกล้าที่แข็งแรง อายุประมาณ 2 สัปดาห์
ย้ายมาวางบนโต๊ะปลูก และเดินเครื่องปั๊มน้ำ
อย่างละ 100 ซีซี หรือ 10 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร จากนั้นนำต้นกล้าที่แข็งแรง อายุประมาณ 2 สัปดาห์
ย้ายมาวางบนโต๊ะปลูก และเดินเครื่องปั๊มน้ำ
5. การดูแลประจำวันดังนี้
– การรักษาระดับน้ำให้อยู่ในระดับควบคุมเสมอ เช่น 10 ลิตร
– ควบคุมค่า EC อยู่ระหว่าง 1-1.8 โดยเครื่อง EC meter ปรับลดโดยการเพิ่มน้ำ และปรับค่า EC
เพิ่มโดยการเพิ่มปุ๋ย กรณีไม่มีเครื่องวัดสามารถประมาณการเติมสารอาหาร A และ B เอาได้
– ควบคุมค่า pH อยู่ระหว่าง 5.2-6.8 โดยเครื่อง pH meter หรือ pH Drop test
ปรับลดโดยการกรดฟอสฟอริกหรือกรดไนตริก (pH down) และปรับค่า pH
เพิ่มโดยการเติมโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ (pH up) ปริมาณ 2-3 หยด
– การรักษาระดับน้ำให้อยู่ในระดับควบคุมเสมอ เช่น 10 ลิตร
– ควบคุมค่า EC อยู่ระหว่าง 1-1.8 โดยเครื่อง EC meter ปรับลดโดยการเพิ่มน้ำ และปรับค่า EC
เพิ่มโดยการเพิ่มปุ๋ย กรณีไม่มีเครื่องวัดสามารถประมาณการเติมสารอาหาร A และ B เอาได้
– ควบคุมค่า pH อยู่ระหว่าง 5.2-6.8 โดยเครื่อง pH meter หรือ pH Drop test
ปรับลดโดยการกรดฟอสฟอริกหรือกรดไนตริก (pH down) และปรับค่า pH
เพิ่มโดยการเติมโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ (pH up) ปริมาณ 2-3 หยด
6. เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 45 วัน
.
แอดมินเชื่อว่าอาจทำให้เกษตรกรหลายคนได้มีพื้นฐานความรู้ในการปลูกผักไร้ดิน
หรือการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ได้อย่างถูกต้อง พร้อมได้ผลผลิตตามที่ตั้งใจไว้ค่ะ
หรือการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ได้อย่างถูกต้อง พร้อมได้ผลผลิตตามที่ตั้งใจไว้ค่ะ
.
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์:
http://www.servicelink.doae.go.th/corner%20book/book%2005/Hydropronic.pdf 2.
สภาเกษตรกรแห่งชาติ :https://www.nfc.or.th/content/7487.
kasetgo.com :https://kasetgo.com/t/topic/689929.
___________________________________________________________________________________________________________
เรามีบริการให้คำปรึกษา ด้านการออกแบบปุ๋ย ด้านการผลิตปุ๋ย ตามสูตรและปริมาณที่ลูกค้าต้องการ
รวมทั้งช่วยออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมต่อความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เหมาะสมกับการทำการตลาดที่ลูกค้าต้องการ ผ่านทางช้่องทางออนไลน์
ติดต่อสอบถาม การผลิตปุ๋ย เพิ่มเติมได้ที่
Line@ : @organic.design
Line
Line
โทร. 0876208888