ปุ๋ยแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

ปุ๋ยมีทั้งหมดกี่ประเภทและแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

ปุ๋ยแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร
สำหรับ #เกษตรกรมือใหม่ อยากทำความเข้าใจเรื่องของปุ๋ยได้ใน 5 นาที
1. ปุ๋ยเคมี
คือสารประกอบอนินทรีย์ ที่ได้จากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตุต่างๆ ที่ได้ตามธรรมชาติหรือเป็นผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรม ปุ๋ยเคมีที่ผลิตออกมาจำหน่ายในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.1 ปุ๋ยเดี่ยว คือปุ๋ยพวกแอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหาร ปุ๋ยคือ N P K หรือปุ๋ยที่มีธาตุอาหารเพียงตัวเดียวในสูตร เช่น 46-0-0,0-30-0, 0-0-60 ฯลฯ
1.2 ปุ๋ยผสม คือปุ๋ยที่มีการนำเอาแม่ปุ๋ยหลาย ๆ ชนิดมาผสมรวมกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมได้มีปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามที่ต้องการหรือปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตั้งแต่สองตัวขึ้นไปในสูตร เช่น 16-20-0, 16-16-8, 13-13-21 ฯลฯ
ปุ๋ยผสมจะมีอยู่ 2 แบบหลัก ๆ คือ
– แบบเบาค์เบลน (Bulk Blending Fertilizer) คือปุ๋ยเคมี หรือ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ในรูปแบบเม็ด ที่ผลิตโดยการนำวัตถุดิบ แม่ปุ๋ยเคมี และ ฟิลเลอร์ปุ๋ย มาผสมคลุกเคล้ากันด้วยกระบวนการทางกายภาพ เพื่อให้ได้สูตรปุ๋ยที่เหมาะกับพืชระยะนั้น ๆ
– แบบคอมปาวด์ (Compound fertilizer) คือ ปุ๋ยที่มีการนำเอาธาตุอาหารหลักอย่างน้อย 2 ธาตุมาผสมกัน โดยผ่านกระบวนการบด ผสม จนเป็นเนื้อเดียวกันและนำมาปั้นเม็ดใหม่อีกครั้ง เพื่อให้ได้ปุ๋ยตรงตามสูตรที่ต้องการ

ปุ๋ยเคมี

2. ปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่มีการย่อยสลายอินทรียวัตถุ (Organic matter) โดยวิธีการทางชีวเคมี โดยการนำอินทรียวัตถุเช่น ของเสียจากโรงงาน มูลวัว มูลไก่ มูลค้างคาว ซากต้นไม้ ใบไม้ กรดอะมิโน โดโลไมท์ แร่ธาตุต่าง ๆ นำมาบด และเติมจุลินทรีย์กลุ่มใช้ออกซิเจน (Aerobic Microorganisms) จากนั้นบ่มหมัก จนอินทรียวัตถุย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารต่าง ๆ ที่พืชต้องการ ปุ๋ยอินทรีย์สามารถแบ่งออกได้อีก 3 ประเภท คือ
2.1 ปุ๋ยหมัก >> ได้จากการกองหมกเศษหญ้าแห้ง ใบไม้ฟางข้าว เศษอาหารและอินทรีย์วัตถุต่างๆ ให้เน่าเปื่อยสลายตัวกลายเป็นสารสีดำหรือ ที่เรียกว่า“ฮิวมัส” ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยหมักจะมีค่า N P K อยู่ระหว่าง 0.4-2% ,0.08-1% และ 0.6-3% ตามลำดับ

2.2 ปุ๋ยคอก >> เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้มาจากสิ่งขับถ่ายของสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ ฯลฯ โดยอาจจะใช้ในรูปแบบสด แบบแห้ง หรือ นำไปหมักให้เกิดการย่อยสลายก่อนแล้วค่อยนำไปใช้ก็ได้ โดยจะมีปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยหมัก N P K อยู่ระหว่าง 0.5% ,0.25% และ 0.5% ตามลำดับ

2.3 ปุ๋ยพืชสด >> เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดินซึ่งได้แก่พืช ปอเทืองและถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วพุ่ม โสน ลงบนพื้นที่ ปล่อยให้เจริญเติบโตมากที่สุด แล้วจึงทำการไถกลบพืชเหล่านั้นลงไปในดิน ปล่อยให้เน่าสลายกลายเป็นปุ๋ยแล้วทำการปลูกพืชหลังการไถกลบ

ปุ๋ยอินทรีย์

**ปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีต้องมีส่วนประกอบของธาตุอาหารหลัก รอง เสริม อย่างครบถ้วน โดยปุ๋ยอินทรีย์สามารถทำได้หลายรูปแบบทั้ง เม็ด น้ำ และผง โดยส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ในรูปแบบของปุ๋ยเม็ด เพราะสะดวกในการหว่านหรือใส่เครื่องพ่นปุ๋ยซึ่ง **
3. ปุ๋ยชีวภาพ
คือ ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่และมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารประกอบธาตุอาหารพืชได้เอง หรือสามารถ เปลี่ยนธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้

ปุ๋ยชีวภาพ

4. ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้อุณหภูมิสูงถึงระดับที่สามารถ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ทั้งที่เป็นโรคพืช โรคสัตว์และโรคมนุษย์รวมทั้งจุลินทรีย์ทั่ว ๆ ไปด้วย จากนั้นนำจุลินทรีย์ ที่มีสมบัติเป็นปุ๋ยชีวภาพที่เลี้ยงไว้ในสภาพปลอดเชื้อมาผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าวและทำการหมักต่อไปจนกระทั่งจุลินทรีย์ที่ใส่ลงไปในปุ๋ยหมักมีปริมาณคงที่

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

——————————————

สนใจติดต่อสอบถาม
🎥 https://www.youtube.com/channel/UCLe3IuaPjsjwdftbXjIRVxg
💻 http://idesignorganic.com
.
☎️ : 0876208888
Line ID : @organic.design (มี@นำหน้า)

facebook : https://www.facebook.com/iDesignOrganic
หรือกดจากมือถือ https://lin.ee/83it4SI
WhatsApp : https://wa.me/+066-0905500599
Telegram : https://t.me/OrganicDesignFertilizer
.
#โรงงานปุ๋ย #โรงงานรับผลิตปุ๋ย #รับผลิตปุ๋ยราคาถูก #รับผลิตปุ๋ยน้ำ #ปุ๋ยอินทรีย์
#ปุ๋ยอินทรีย์เคมี #ปุ๋ยเคมี #ปุ๋ยน้ำ #ฮาลาล #Halal #IFOAM #ISO9001 #ISO17025
#ขึ้นทะเบียนปุ๋ยครบวงจร #ส่งออกปุ๋ย

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *