การดูแลและการให้ปุ๋ยไม้ด่าง

ให้ปุ๋ยไม้ด่าง

การ ‘ดูแลไม้ด่าง’ และ การ ‘ให้ปุ๋ยไม้ด่าง’

วิธี ‘การดูแลไม้ด่าง’ และ ‘ให้ปุ๋ยไม้ด่าง’ แต่ละชนิดค่อนข้างมีความใกล้เคียงกันมาก เพราะเดิมพืชตระกูลนี้จะเป็นพืชไม้เลื้อย มีต้นกำเนิดจากเขตร้อนชื้น สามารถเจริญเติบโตในปรเทศไทยได้ดีเพราะลักษณะสภาพอากาศใกล้เคียงกัน

ให้ปุ๋ยไม้ด่าง

ในบรรดาไม้ด่างที่มีในตลาด ‘พลู’ ถือว่าเป็นพืชที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ทั้งในด้านของความนิยมและมูลค่า เพราะเป็นพืชที่เลี้ยงได้ไม่ยากมาก มีความแข็งแรง อีกทั้งเมื่อเกิดสีด่างก็มีความสวยงามมากเช่นกัน โดยที่พลูนั้น จะเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลของ ‘Monstera’ และ ‘Epipremnum’ เป็นส่วนใหญ่ จะเห็นได้ว่าพืชที่มีมูลค่าสูงในตลาด เช่น ‘มอนสเตอร่ามินต์’ กับ ‘พลูฉลุ’ ก็จัดก็อยู่ในตระกูลของพลูเหมือนกัน

 

ซึ่งมีวิธีการดูแลไม้ด่างของพืชตระกูลนี้ มีดังนี้

  1. แสงแดด
    ควรให้แสงแดดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เนื่องจากพืชตระกูลนี้ไม่จำเป็นต้องรับแสงแดดมากแต่ก็ยังต้องใช้เพื่อการสังเคราะห์แสงเพื่อเจริญเติบโตอยู่ จึงไม่ควรเลี้ยงในบริเวณกลางแจ้งหรือโดนแดดจัดโดนเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการใบไหม้ วิธีการดูว่าควรให้แสงกับต้นไม้ตอนไหนให้สังเกตจากใบ หากใบเริ่มเหี่ยวก็นำออกมารับแดดและถ้าใบเริ่มมีอาการไหม้ก็ควรงดการโดดแดดเช่นกัน
  2. น้ำ
    ควรให้น้ำ 2-3 วัน ต่อ ครั้ง เพราะพืชตระกูลนี้เป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก ต้องการเพียงแค่ความชื้นก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ หากให้น้ำมากเกินไปจะทำรากเน่าและส่งผลต่อการดูดซึมธาตุอาหารของพืช โดยเทคนิคการควบคุมความชื้นหรือตรวจสอบความชื้นในกระถางนั้น คือการเอานิ้วจิ้มลงไปในดินปลูก เพื่อดูว่าดินภายในยังมีความชื้นอยู่หรือไม่ เพราะบางครั้งหน้าดินแห้ง แต่ภายในดินยังมีน้ำหลงเหลืออยู่ก็เป็นได้
  3. ดินและวัสดุปลูก
    เนื่องจากพืชตระกูลนี้ต้องการความชื้น จึงควรใช้ดินที่มีความร่วนซุยไม่กักเก็บน้ำ ผสมกับวัสดุปลูกที่ช่วยเก็บความชื้นได้ เช่น ขุยมะพร้าว กาบมะพร้าว แกลบ เป็นต้น ผสมกันในอัตรา 1:1
  4. การ ให้ปุ๋ยไม้ด่าง
    เช่นเดียวกับพืชชนิดอื่น ธาตุอาหารมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต แต่อาจจะไม่ได้ต้องการในปริมาณมาก จึงควรมีการให้ปุ๋ยในอัตราส่วนที่ไม่ต้องเยอะ
  • การให้ปุ๋ยไม้ด่างทางดิน
    เนื่องจากเป็นพืชที่ไม่ได้ต้องการธาตุอาหารตัวไหนมากเป็นพิเศษและต้องการในปริมาณเพียงนิดหน่อย จึงควรใช้เป็นปุ๋ยเม็ดละลายช้าสูตรเสมอ 13-13-13 ใส่ไว้ตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งปุ๋ยหมดปุ๋ยไม้ด่าง
  • การให้ปุ๋ยไม้ด่างทางใบ
    แนะนำเป็นปุ๋ยผสมสำเร็จโดยใช้อาหารเสริมที่ไม่ใช่ธาตุอาหารหลักของพืช เช่น กรดอะมิโน ไคโตซาน ฮอร์โมนต่าง ๆ เป็นต้น ฉีดพ่นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและช่วยลดการเกิดโรค
  • ปุ๋ยเร่งราก
    ปุ๋ยชนิดนี้อาจจะไม่จำเป็นสำหรับต้นที่มีขนาดใหญ่หรือโตเต็มที่แล้ว โดยจะเหมาะสมกับการเพาะพันธุ์ หรือการอนุบาลต้นเพื่อขยายพันธุ์มากกว่า เพราะจะช่วยให้รากมีอัตราการงอกได้ไวและแข็งแรงมากขึ้น
  • อื่น ๆ เช่น ตัวแว็กซ์ใบ เพื่อให้ใบเงางาม, ชีวภัณฑ์ ไตรโครเดอร์มา/บิวเวอร์เรีย ในการป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราและแมลง เป็นต้น

 

นอกจากการดูแลรักษาและให้ปุ๋ยไม้ด่างอย่างถูกวิธีแล้ว การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียว เพราะถ้าหากเราปุ๋ยที่นำมาฉีดพ่นไม่ได้มาตราฐาน ก็อาจทำให้เกิดวามเสียหายกับต้นไม้ทั้งของเราและของลูกค้าคนสำคัญ ยิ่งในยุคที่พืชชนิดนี้มีราคาสูงก็อาจจะทำให้เกิดการสูญเสียรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

 

เรายินดีให้คำปรึกษา #ออกแบบปุ๋ยไม้ด่าง #ผลิตปุ๋ยไม้ด่าง ตามสูตรและปริมาณที่ลูกค้าต้องการ รวมทั้งช่วยออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมต่อความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เหมาะสมกับการทำการตลาดที่ลูกค้าต้องการ

_____________________________________________________________________________________________________________________

ติดต่อสอบถาม การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพิ่มเติมได้ที่
​Line@ : @organic.design Line
โทร. 0876208888
Facebook

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *